เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ในสหราชอาณาจักรขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์  จนเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมาในช่วงฤดูร้อนด้วยปัญหาที่ทั่วโลกประสบอยู่ยิ่งทำให้สถานการณ์การขาดแคลนบุคลากรยิ่งเลวร้ายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีการอนุมัติวีซ่าแบบใหม่ซึ่งออกให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุขโดยเฉพาะ  วีซ่านี้เรียกว่า วีซ่าสำหรับผู้ทำงานด้านสุขภาพและการดูแลรักษา หรือ (Health and Care Worker Visa)

ปัจจุบันสำหรับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ชาวไทย ที่มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับดีสามารถที่จะเดินทางเข้ามาทำงานและมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับสัญชาติอังกฤษหลังจากที่ทำงานผ่านไปในระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวีซ่านี้จะใช้ระยะเวลาในการพิจารณายาวนานเกือบ 3 สัปดาห์ แต่เชื่อว่าการเตรียมตัวเพื่อจะขอวีซ่านั้นอาจจะใช้เวลามากกว่าเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น สำหรับผู้ที่สนใจวีซ่าประเภทนี้ ทางเราแนะนำให้เตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ข้อจำกัดที่หลายประเทศทั่วโลกบังคับใช้และเป็นอุปสรรคในการเดินทางไปมาระหว่างประเทศสิ้นสุดลง ในบทความนี้เราจะขออธิบายคร่าวๆ ถึงขั้นตอนต่างๆ ว่าแต่ละขั้นมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง

เริ่มจากขั้นตอนแรก ผู้ที่มีคุณสมบัติในการสมัครจะต้องตรวจสอบจนมั่นใจก่อนว่าอาชีพของตนนั้นอยู่ในลิสต์อาชีพที่สามารถมีสิทธิขอวีซ่าประเภทนี้ได้  โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบได้จากลิงค์นี้

https://www.gov.uk/health-care-worker-visa/your-job

ผู้ที่มีคุณสมบบัติในการสมัคร จะต้องสามารถอ่าน เขียน พูด และเข้าใจภาษาอังกฤษได้โดยมีระดับความรู้ภาษาอังกฤษอย่างน้อยตั้งแต่ระดับ B1 ขึ้นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้อธิบายระดับความเชี่ยวชาญทางภาษา CEFR (the Common European Framework of Reference for Languages) โดยข้อมูลเกี่ยวกับการยืนยันถึงการมีพื้นฐานภาษาอังกฤษในระดับดังกล่าว สามารถศึกษาข้อมูลได้จากลิงค์นี้ https://www.gov.uk/health-care-worker-visa/knowledge-of-english

หลังจากนั้นจึงจะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนของการหางาน โดยขั้นตอนนี้คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางออกจากประเทศไทยแต่ประการใด คุณสามารถเขียนจดหมายไปหาผู้จ้างงานโดยตรงได้เลย  นอกจากการเขียนจดหมายตรงแล้ว ในสหราชอาณาจักรยังมีหน่วยงานจัดหางานทางการแพทย์ (Medical Recruitment Agencies) มากมายที่สามารถหาตำแหน่งงานผ่านระบบอัตโนมัติ  โดยหน่วยงานจัดหางานเหล่านี้สามารถนำเสนอตำแหน่งงานต่างๆ ที่มีความหลากหลายจากในแต่ละโรงพยาบาลและรวมถึงสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ ในสหราชอาณาจักร รวมถึงนำเสนอผู้สมัครจากประเทศอื่นๆ ด้วย  ในการติดต่อกับหน่วยงานจัดหางานเหล่านี้คุณจะต้องย้ำว่าคุณต้องการการเอกสารที่ยืนยันการเป็นสปอนเซอร์ หรือที่เรียกว่า  Certificate of Sponsorship (CoS) จากผู้จ้างงานที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงมหาดไทยอังกฤษ หรือที่เรียกว่า Home Office ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้จ้างงานจะได้รับการอนุญาตจากกระทรวงนี้

ในกรณีส่วนใหญ่ผู้หางานจะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม เช่น ใบรับรองความประพฤติจากกรมตำรวจ และผลการตรวจเชื้อวัณโรค  ผู้ที่ได้รับวีซ่ามีสิทธิที่จะนำเอาภรรยาที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย (หรือคู่ชีวิต ที่ไม่ได้จดทะเบียน แต่ใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้ที่ได้วีซ่ามาไม่ต่ำกว่าสองปี) รวมถึงบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เข้ามาพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักรพร้อมกับตนได้  สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการยื่นขอวีซ่าสามารถดูได้จากเวปไซต์ https://www.gov.uk/health-care-worker-visa หลังจากที่ทำงานผ่านไปแล้วห้าปีในสหราชอาณาจักร บุคคลดังกล่าวและครอบครัวจะมีสิทธิในการยืนสมัครเพื่อขอมีถิ่นพำนักถาวรในสหราชอาณาจักร และจากนั้นก็จะสามารถยื่นขอสัญชาติได้ในลำดับต่อไป

นอกจากนี้ เรายังร่วมมือกับหน่วยงานจัดหางานหลายหน่วยงานในการเฟ้นหาเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ซึ่งเราสามารถช่วยคุณหางานในสหราชอาณาจักรได้ โดยคุณสามารถส่งประวัติย่อ (CV) ระบุการศึกษาและประวัติการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงระดับความรู้ภาษาอังกฤษมาให้เราทาง E-mail: isabella@richardbergmann.co.uk หรือในกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือในการเขียนประวัติส่วนตัวโดยย่อเป็นภาษาอังกฤษ เรามีเจ้าของภาษาที่มีประสบการณ์ในการรับสมัครคนเข้าทำงาน ให้ความช่วยเหลือในการเขียน  ซึ่งช่วยให้คุณมั่นใจได้ถึงความถูกต้อง

หากว่าคุณมีเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่จบการศึกษาทางการแพทย์และมีความสนใจที่จะย้ายเข้ามาทำงานในสหราชอาณาจักร แนะนำให้แชร์ข้อมูลนี้ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ หรือญาติๆ ให้ได้รับทราบ และหากว่าคุณมีคำถามใดๆ ที่สงสัย หรือต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใดก็ตาม ทนายความด้านการตรวจคนเข้าเมืองอังกฤษ ริชาร์ด เบิร์คมนน์ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทุกเมื่อ สามารถติดต่อได้ทางโทรศัพท์ +447565113180 (สื่อสารภาษาไทย) หรือส่งอีเมลล์มาถึงเราได้ที่  rbergmann@redfernlegal.com

Discover more from Richard Bergmann

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading