วีซ่าเยี่ยมเยือน (Visitor Visa) จะทำอย่างไรไม่ให้มีปัญหา

วีซ่าเยี่ยมเยือน (Visitor Visa) จะทำอย่างไรไม่ให้มีปัญหา ในบางครั้งเราก็อาจจะรู้สึกว่าขั้นตอนของการขอวีซ่าเยี่ยมเยือนของสหราชอาณาจักรนั้นค่อนข้างง่าย ข้อมูลเกี่ยวกับการขอวีซ่าสามารถดูได้จากเวปไซต์ https://www.gov.uk/standard-visitor/apply-standard-visitor-visa ปกติแล้วสองสิ่งที่จะต้องยืนยันให้กับหน่วยงานวีซ่าอังกฤษก็คือ ต้องแสดงให้เห็นว่าคุณมีเงินสำหรับการเดินทางดังกล่าว และอีกประการคือ คุณจะกลับมาประเทศไทยหลังจากการเยี่ยมเยือนนั้นเสร็จสิ้นลง ( แสดงให้เห็นว่าคุณมีหน้าที่ที่จะต้องกลับไปทำที่ไทย เช่น งานประจำ ครอบครัว ธุรกิจ การศึกษา เป็นต้น….) แต่อย่างไรก็ตาม การขอวีซ่าเยี่ยมเยือนก็มีเปอร์เซ็นต์การถูกปฏิเสธค่อนข้างมาก นอกจากนี้แล้วก็ยังเป็นที่รู้กันทั่วว่า เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของสหราชอาณาจักรนั้นเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ที่เข้มงวดที่สุดของโลก ในช่วงของการตรวจคนเข้าเมือง ผู้โดยสารอาจจะต้องผ่านการสัมภาษณ์ที่ยาวนานมาก หลายครั้งที่วีซ่าถูกยกเลิกโดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และผู้โดยสารที่ถูกปฏิเสธการข้ามแดนก็จะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางในไฟลต์ถัดไป (ซึ่งสิ่งนี้เป็นเรื่องที่เลวร้ายมากหากมองในแง่ของเงินที่สูญเสียไป) ในบทความนี้ ผมจะพูดถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยกับคนไทย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ถูกปฏิเสธวีซ่า หรือไม่ผ่านการอนุญาตของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง บ่อยครั้งที่พบว่าผู้หญิงที่แต่งงานกับชาวอังกฤษ (ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าได้รับสัญชาติอังกฤษแล้ว) เชิญให้พ่อแม่ของตัวเองที่ไม่สามารถพูดอังกฤษได้มาเยี่ยมที่อังกฤษ โดยผู้ที่เชิญเป็นผู้กรอกแบบฟอร์มคำขอทั้งหมดให้ และขอให้คนที่เชิญลงแค่ลายมือชื่อ จากนั้นก็นำเอกสารพร้อมกับพาสปอร์ตไปยื่นที่ศูนย์วีซ่าที่ไทย เมื่อเดินทางไปถึงอังกฤษ จ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่ประจำอยู่สนามบินมักจะถามคำถามต่างๆ ที่อยู่ในแบบฟอร์มโดยเปรียบเทียบคำตอบกับคำตอบที่อยู่ในเอกสารในตอนที่ขอวีซ่า การไม่รู้ภาษาอังกฤษจริงๆ แล้วก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญสักเท่าไหร่ ทั้งนี้ก็เพราะปกติจะมีล่ามที่คอยแปลภาษาอยู่ที่สนามบิน แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะบินมาด้วยไฟล์ตที่ต้องทรานสิท หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองก็สามารถหาล่ามที่พูดภาษานั้นๆ ได้ในทุกภาษาที่ต้องการ แต่บ่อยครั้งที่ผู้ยื่นเอกสารไม่รู้ว่าสิ่งที่ผู้ที่ช่วยกรอกเอกสารกรอกตอบไปคือคำตอบอะไร เป็นคำตอบเดียวกันหรือไม่ และไม่รู้ว่าคำตอบที่ตนตอบนั้นเหมือนหรือแตกต่างจากที่ระบุไว้ตอนตอบคำถามในแบบฟอร์มในช่วงขอยื่นวีซ่า ในกรณีเช่นนี้ เป็นไปได้ที่จะถูกปฎิเสธวีซ่าในช่วงของการตรวจคนเข้าเมืองและต้องถูกเนรเทศกลับ คำแนะนำของผมก็คือ เพื่อที่จะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ […]

วีซ่าเยี่ยมเยือน (Visitor Visa) จะทำอย่างไรไม่ให้มีปัญหา Read More »

การขอรับสัญชาติอังกฤษจากการพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักร (Naturalisation)

การถือหนังสือเดินทางอังกฤษนั้น ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหนังสือเดินทางที่ให้สิทธิสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก ปัจจุบันผู้ที่ถือหนังสือเดินทางอังกฤษนั้นมีสิทธิในการเดินทางไปต่างประเทศโดยไม่ต้องใช้วีซ่าได้มากถึง 190 ประเทศ การแปลงสัญชาติถือเป็นก้าวที่สำคัญและทำให้ชาวไทยได้รับสิทธิทั้งหมดเช่นเดียวกันกับที่ชาวอังกฤษโดยกำเนิดได้รับ โดยทั่วไปแล้ว สำหรับการยื่นขอสัญชาติอังกฤษจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี และไม่ว่าผู้ยื่นจะจัดอยู่ในกลุ่มใดก็ตามโดยปกติแล้วก่อนที่จะทำการยื่นขอสัญชาติผู้ยื่นเอกสารจะต้องมีถิ่นพำนักถาวรมาก่อนหน้านี้แล้วอย่างน้อย 12 เดือน  ยกเว้นแต่ผู้ที่แต่งงานกับชาวอังกฤษ สามารถยื่นขอสัญชาติได้เลยหนึ่งวันหลังจากที่ได้รับสิทธิพำนักถาวร (โดยที่ไม่ต้องรอให้ผ่านพ้นไป 1 ปี) ผู้ที่ยื่นขอแปลงสัญชาติจะต้องเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ และตระหนักรู้ถึงการกระทำของตน (ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจเองทั้งหมด) สำหรับผู้ที่ยื่นขอแปลงสัญชาติจะต้องผ่านการทดสอบการใช้ชีวิตในสหราชอาณาจักร หรือ ที่เรียกว่า  «Life in the UK»  และจะต้องมีความรู้ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างน้อยในระดับ B1 ตามมาตรฐานการวัดผลทางภาษา ( CEFR) แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อยกเว้นอีกมากมาย เช่น ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 65 ปี ไม่จำเป็นต้องผ่านการทดสอบทางภาษา เป็นต้น โดยหลักการแล้วผู้ยื่นขอสัญชาติจะต้องไม่เป็นผู้ที่อาศัยอยู่นอกสหราชอาณาจักรเกินกว่า 450 วัน ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา และในปีสุดท้ายก่อนการยื่น จะต้องไม่อาศัยอยู่นอกราชอาณาจักรเกินกว่า 90 วัน  ทางกระทรวงกิจการภายในค่อนข้างจะเข็มงวดกับคุณสมบัติของผู้สมัครยื่นขอสัญชาติว่าจะต้องเป็นคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม (มีพฤติกรรมดี) ดังนั้น ผู้สมัครที่เคยมีประวัติฝ่าฝืนกฎหมาย

การขอรับสัญชาติอังกฤษจากการพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักร (Naturalisation) Read More »

สิทธิการมีถิ่นพำนักถาวรในอังกฤษ (INDEFINITE LEAVE TO REMAIN – ILR)

สิทธินี้เป็นที่รู้จักกันอีกแบบว่า SETTLEMENT หรือสิทธิการตั้งถิ่นฐาน ซึ่งโดยหลักการแล้วมีความหมายเหมือนกัน สำหรับชาวไทยที่ได้สถานภาพนี้จากการที่เคยได้สมรส หรือสมรส หรือเป็นสมาชิกครอบครัวของชาวสหภาพยุโรปจะมีเอกสารที่เขียนไว้ว่า สิทธิในการตั้งถิ่นฐานภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานในสหภาพยุโรป (SETTLED STATUS UNDER EUROPEAN UNION SETTLED SCHEME – EUSS) ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันอยู่ในเรื่องของขั้นตอนการได้รับสถานะนี้ แต่ทั้งคนที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นพำนักถาวรและผู้ที่ได้รับสถานะการมีถิ่นถาวรในรูปของ SETTLEMENT ก็เรียกได้ว่าแทบจะเหมือนกันทุกประการ กรณีที่ผู้ยื่นเอกสารพำนักอยู่ในสหราชอาณาจักร ในฐานะที่เป็นสมาชิกครอบครัวของชาวอังกฤษหรือเป็นสมาชิกในครอบครัวของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นพำนักถาวรในอังกฤษ ซึ่งโดยปกติแล้วการจะสามารถยื่นขอมีถิ่นพำนักถาวรในอังกฤษได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้ชีวิตอยู่ในอังกฤษเป็นเวลาผ่านพ้นไปแล้ว 5 ปี  ในบางกรณีระยะเวลาที่จะยื่นขอมีถิ่นพำนักอาจสั้นกว่านี้ได้ ( เช่น กรณีที่คู่สมรสชาวอังกฤษเสียชีวิต หรือผู้ยื่นขอเอกสารเป็นเหยื่อที่เกิดจากความรุนแรงในครอบครัว เป็นต้น) แต่ในบางกรณี ระยะเวลาในการยื่นขอมีถิ่นพำนักถาวรก็อาจจะยาวนานขึ้นเป็น 10 ปี (เช่น กรณีที่ผู้ยื่นเอกสารขอยืดเวลาในการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษซึ่งจำเป็นในการขอมีถิ่นพำนักถาวร หรือ กรณีที่รายได้ลดลงจนเกินกว่ารายได้ขั้นต่ำที่ทางหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองระบุไว้) โดยส่วนมากแล้ว (แต่ไม่ทั้งหมด) ผู้ที่ได้รับวีซ่าทำงานและวีซ่าธุรกิจก็จะเข้าข่ายในการยื่นเอกสารขอมีถิ่นพำนักถาวรได้หลังจากใช้ชีวิตผ่านไป 5 ปี หากว่าผู้ยื่นเอกสารได้ทำการเปลี่ยนวีซ่าในช่วงระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในอังกฤษ (เช่น เคยถือวีซ่านักศึกษามาก่อน เคยถือวีซ่าธุรกิจ หรือวีซ่าติดตามครอบครัว เป็นต้น) กรณีเช่นนี้จะยื่นเอกสารได้ก็ต่อเมื่อใช้ชีวิตอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องเป็นระยเวลา 10 ปี ขึ้นไป

สิทธิการมีถิ่นพำนักถาวรในอังกฤษ (INDEFINITE LEAVE TO REMAIN – ILR) Read More »

วีซ่าคู่สมรส / คู่ชีวิต (Spouse/Partner Visa)

ีซ่าประเภทนี้หลายคนชอบสับสนกันกับวีซ่าคู่หมั้น (fiancé, fiancée or proposed civil partner visa) ซึ่ง ก่อนหน้านี้ผมเคยได้กล้าวถึงไปแล้วในบทความที่ผ่านมา ความแตกต่างที่ส าคัญของวีซ่าสองประเภทนี้ก็คือ วีซ่าคู่หมั้น เป็นวีซ่าที่ออกให้กับคู่หมั้นที่เตรียมตัวที่จะจดทะเบียนสมรสในสหราชอาณาจักร หลังจากนั้นเมื่อสมรสเรียบร้อยแล้วจึงจะ สามารถเปลี่ยนจากวีซ่านี้ไปถือวีซ่าคู่สมรสได้ที่นั่นเลย (โดยที่ไม่ต้องเดินทางกลับประเทศไทย) วีซ่าคู่สมรสออกให้กับคน ไทยที่ได้จดทะเบียนสมรสในประเทศไทย (หรือในต่างประเทศ) ส าหรับผู้ที่สมรสในประเทศไทยจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า การจัดพิธีการแต่งงานทางศาสนานั้นไม่เพียงพอที่จะน ามาเป็นหลักฐานในการยื่นขอวีซ่าได้ สิ่งที่ส าคัญคือจะต้องไปจด ทะเบียนสมรสที่ส านักงานอ าเภอ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงในการจัดพิธีการแต่งงานทางศาสนา (ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ใบเชิญ สินสอน และหลักฐานอื่น) หลายครั้งก็สามารถช่วยเป็นหลักฐานให้ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าเพื่อที่จะน ามาใช้พิสูจน์ว่าการจัด งานต่างๆ นั้นไม่ใช่เรื่องที่โกหก คู่สมรสของผู้ที่ยื่นขอวีซ่าประเภทนี้นั้นจะต้องเป็นชาวสหราชอาณาจักร หรือเป็นบุคคลต่างด้าวที่เป็นผู้ที่มีถิ่นพ านักถาวรในสหราชอาณาจักร ผู้ยื่นขอวีซ่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจะต้องผ่านการทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานอย่างน้อยในระดับ A1 ตามมาตรฐานการวัดผลทางภาษา (CEFR- Common EuropeanFramework of Reference for Languages) ส่วนใหญ่แล้วจะต้องท าการทดสอบที่ประเทศไทย นอกจากนี้ผู้ยื่นขอวีซ่ายังต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อวัณโรค

วีซ่าคู่สมรส / คู่ชีวิต (Spouse/Partner Visa) Read More »

วีซ่าตัวแทนเดี่ยวบริษัทต่างชาติ (SOLE REPRESENTATIVE)

การเข้ามาดำเนินการธุรกิจในฐานะ ผู้แทนเดี่ยวของธุรกิจในต่างประเทศ (SOLE REPRESENTATIVE OF AN OVERSEAS BUSINESS) เป็นวีซ่าที่ช่วยให้ตัวแทนของบริษัทหรือสาขาของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย (หรือในต่างประเทศ) สามารถเดินทางเข้ามาในสหราชอาณาจักรเพื่อจดทะเบียนตัวแทนหรือสาขาของบริษัทดังกล่าวในสหราชอาณาจักรได้ แม้ว่าในขณะนั้นจะยังไม่มีสาขาของบริษัทดังกล่าวในสหราชอาณาจักรก็ตาม โดยในขณะเดียวกันนั้นบริษัทแม่จะต้องยังคงดำเนินธุรกิจและกิจการในต่างประเทศอยู่ด้วย ก่อนที่จะส่งตัวแทนบริษัทมายังสหราชอาณาจักร บริษัทไทยจะต้องดำเนินกิจการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และมีเหตุผลที่จำเป็นมากพอในการเข้ามาเปิดสาขา เช่น มีการติดต่อสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับทางสหราชอาณาจักรมาก่อนหน้านี้ หรือมีการทำสัญญาระยะยาวและความคาดหวังในการทำข้อตกลงที่อาจจะเป็นไปได้ในอนาคต เป็นต้น กรณีที่เอกสารยื่นขอวีซ่าเห็นได้ชัดเจนว่าการจัดส่งตัวแทนบริษัทมายังสหราชอาณาจักรนั้นเป็นไปเพื่อจุดประสงค์ที่จะทำให้กลายเป็นสำนักงานใหญ่และเป็นสถานที่ในการดำเนินธุรกิจหลักของทางบริษัทในอนาคต วีซ่าดังกล่าวจะถูกปฎิเสธทันที ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าเป็นตัวแทนเดี่ยวนั้น จะต้องทำหน้าที่ในด้านการบริหารจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดในบริษัทแม่ ทั้งนี้ก็เนื่องจากหลังจากเข้ามาดำเนินการในฐานะตัวแทนในต่างชาติ ตัวแทนคนดังกล่าวจะต้องดำเนินการบริหารกิจการต่างๆ รวมถึงตัดสินใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจการบริษัทในสหราชอาณาจักรด้วยตัวเอง เงื่อนไขสำคัญสำหรับผู้ที่ยื่นขอวีซ่า คือ จะต้องไม่ใช่ผู้ที่ถือหุ้นหลักของทางบริษัท ผู้ยื่นขอวีซ่าดังกล่าวสามารถถือหุ้นของบริษัทแม่ได้ แต่จำนวนหุ้นต้องไม่เกินกว่า 50% ของหุ้นในบริษัทแม่ โอกาสของผู้ที่ยื่นขอวีซ่าที่จะได้รับวีซ่าจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นหากว่าผู้ยื่นขอวีซ่าทำงานในบริษัทแม่มาอย่างนาวนาน และเข้าใจระบบการทำงานและภาพรวมของบริษัทในทุกด้านมาเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าจะต้องมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษในระดับ A1 ตามมาตรฐานการวัคความรู้ทางภาษา CEFR และจะต้องผ่านการตรวจหาเชื้อวัณโรคในคลินิกเฉพาะในประเทศไทย ผู้ยื่นขอวีซ่ามีสิทธิที่จะทำงานได้เฉพาะในฐานะที่เป็นตัวแทนของบริษัทไทยซึ่งเป็นบริษัทที่ผู้ยื่นขอวีซ่าทำงานให้เท่านั้น นอกจากนี้ ผู้ยื่นขอวีซ่ายังมีสิทธิที่จะพาคู่สมรสและคู่ชีวิต (รวมถึงคู่รักร่วมเพศ) และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ติดตามแตกต่างจากผู้ที่ยื่นขอวีซ่าตรงที่ไม่มีขอจำกัดในการทำงานในสหราชอาณาจักร  และสามารถหางานทำในบริษัทท้องถิ่นบริษัทใดก็ได้  วีซ่าชนิดนี้ให้ครั้งแรกเป็นเวลาสามปี จากนั้นสามารถต่อวีซ่าได้ครั้งละสองปี (ขึ้นอยู่กับว่าการเป็นบริษัทตัวแทนนั้นยังคงดำเนินการอยู่หรือไม่)

วีซ่าตัวแทนเดี่ยวบริษัทต่างชาติ (SOLE REPRESENTATIVE) Read More »

ใบอนุญาตสำหรับเป็นผู้สนับสนุนการการย้ายถิ่นฐาน (Tier 2 sponsor licence)

การได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้สนับสนุนการย้ายถิ่นฐาน ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่บริษัทจะต้องดำเนินการเพื่อที่จะสามารถจัดจ้างพนักงานจากต่างประเทศให้เข้ามาทำงานภายในบริษัทได้ หลังจากที่บริษัทได้ใบอนุญาตในการเป็นผู้สนับสนุนการย้ายถิ่นฐานแล้ว บริษัทก็จะสามารถเป็นทำหน้าที่ในฐานะผู้สนับสนุนหรือ Sponsor ในการย้ายถิ่นฐานสำหรับผู้ที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาทำงานในบริษัทนั้นได้โดยไม่จำกัดจำนวน ส่วนใหญ่แล้วความต้องการในการจ้างงานชาวไทยเป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มของร้านอาหารที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วในสหราชอาณาจักร โดยร้านอาหารเหล่านี้ค่อนข้างหาพนักงานที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการและอาศัยอยู่ในอังกฤษอยู่แล้วค่อนข้างยากมาก (ไม่ว่าจะเป็นพ่อครัวใหญ่ไปจนถึงระดับพนักงานช่วยทั่วไปในครัว) นอกจากนี้ ก็ยังมีบริษัทที่ต้องการหาลูกจ้างใหม่มาทดแทนลูกจ้างเดิม ก่อนที่หน่วยงานกิจการภายในของสหราชอาณาจักรจะออกใบอนุญาตให้กับบริษัทในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนการย้ายถิ่นฐานนั้น ทางหน่วยงานจะตรวจสอบบริษัทดังกล่าวว่าดำเนินกิจการไปตามเงื่อนไขอย่างถูกต้องหรือไม่  การตรวจสอบดังกล่าว ก็คือ 1) ตรวจสอบว่าบริษัทดำเนินกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมายในสหราชอาณาจักรหรือไม่ 2) ตรวจสอบว่าพนักงานที่ระบุอยู่ในคำร้องนั้นเป็นพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถ จริงจัง และเชื่อถือได้หรือไม่ 3) ตรวจสอบว่าบริษัทมีความสามารถที่จะทำหน้าที่ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนการย้ายถิ่นได้หรือไม่ และ 4) ตรวจสอบว่าบริษัทมีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องของรับใบอนุญาต และตำแหน่งหน้าที่ที่ชาวต่างชาติเข้ามาทำนั้นสอดคล้องกันกับข้อกำหนดของวีซ่าประเภท “แรงงานที่มีทักษะ” และ “การโยกย้ายภายในบริษัท” ในส่วนของระดับความสามารถ ฐานค่าจ้าง และขั้นตอนการคัดเลือกพนักงานที่เข้ามาทำงานในตำแหน่งที่ว่างอยู่หรือไม่ ก่อนที่จะขอเข้ารับใบอนุญาตในฐานะผู้สนับสนุนการย้ายถิ่นฐาน ผมแนะนำให้ทำการตรวจสอบเบื้องต้นก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการจัดหาพนักงานทั้งหมดนั้นเป็นไปโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติทางกฎหมาย แนะนำให้ติดต่อหน่วยงานด้านการบริการจัดหางานเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบใบอนุญาตในการทำงานของพนักงาน และระบบการบริหารงานบุคคล ใบอนุญาตในการเป็นผู้สนับสนุนการย้ายถิ่นฐานนั้นทำให้บริษัทสามารถยื่นขอใบรับรองในฐานะผู้สนับสนุน (Sponsor) ให้กับแรงงานต่างชาติได้  กระบวนการดังกล่าวดำเนินการโดยหน่วยงานกิจการภายในของสหราชอาณาจักร เพื่อทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทสัญชาติอังกฤษ และเพื่อมั่นใจว่าบริษัทเหล่านั้นมีความต้องการแรงงานต่างชาติเพื่อให้เข้ามาทำงานเนื่องจากประสบกับความขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในการทำงานจริงๆ ใบอนุญาตเป็นผู้สนับสนุนการย้ายถิ่นฐานจะต้องทำการต่อทุกๆ 4 ปี  ผมแนะนำให้ผู้ที่ต้องการต่อใบอนุญาตทำการตรวจสอบเบื้องต้นก่อนที่จะยื่นขอต่อใบอนุญาตเป็นผู้สนับสนุนการย้ายถิ่นฐาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทยังคงทำหน้าที่และดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว

ใบอนุญาตสำหรับเป็นผู้สนับสนุนการการย้ายถิ่นฐาน (Tier 2 sponsor licence) Read More »

วีซ่าคู่หมั้น (FIANCE VISA)

วีซ่าคู่หมั้น วีซ่าประเภทนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ที่กำลังจะแต่งงานกับชาวอังกฤษ หรือชาวต่างชาติที่ถิ่นพำนักถาวรในอังกฤษ ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าจะต้องพำนักอยู่ในประเทศไทยหรือประเทศอื่นที่ไม่ใช่อังกฤษ ระยะเวลาวีซ่าประเภทนี้ให้ยาวนานสูงสุด 6 เดือน และในช่วงเวลาดังกล่าวคู่หมั่นจะต้องทำการจดทะเบียนสมรสในสหราชอาณาจักรให้เสร็จสิ้น แต่หากว่ามีเหตุที่ทำให้พิธีการสมรสนั้นมีเหตุให้ต้องเลื่อนออกไปจากที่กำหนดไว้ ก็สามารถขอต่อวีซ่าได้ คู่หมั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ผู้ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรด้วยวีซ่าคู่หมั้นจะไม่มีสิทธิในการทำงานในสหราชอาณาจักร  สำหรับผู้ที่ให้การสนับสนุน (Sponcor) จะต้องยื่นเอกสารยืนยันถึงรายได้ของตน โดยรายได้ก่อนหักภาษีจะต้องไม่น้อยกว่า 18,600 ปอนด์ ต่อปี หรือไม่ก็จะต้องมีเงินเก็บบัญชีธนาคารตามที่กำหนดไว้ (ในกรณีที่คู่หมั้นที่เดินทางจากประเทศไทยมีบุตรที่ต้องการเดินทางมาด้วย ผู้ที่เป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนการเดินทางจะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 22,400 ปอนด์ และเพิ่มอีก 2400 ปอนด์ต่อเด็กหนึ่งคนที่ติดตามมาด้วย) หนึ่งในข้อกำหนดเบื้องต้นในการขอวีซ่าประเภทนี้ คือคู่แต่งงานทั้งสองจะต้องมีหลักฐานยืนยันว่าทั้งสองได้รู้จักกันดีมาก่อนหน้านี้ และจะต้องมีเจตนาที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกันหลังแต่งงาน การสนทนากันผ่านทางอินเตอร์เน็ตอย่างเดียวโดยที่ไม่ได้มีการพบกันจริงๆ ไม่สามารถนำมาใช้หลักฐานในการขอวีซ่าประเภทนี้ได้ ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าคู่หมั้นนั้นจะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับพื้นฐานไม่น้อยกว่า A1 ตามมาตรฐานสากลที่ใช้วัดความรู้ทางภาษา (CEFR) ด้วยการผ่านการทดสอบวัดระดับภาษาที่ประเทศไทย  นอกจากนี้ ผู้ยื่นขอวีซ่าชาวไทยจะต้องได้รับการตรวจหาเชื้อวัณโรคอีกด้วย เมื่อได้จดทะเบียนสมรสกันเรียบร้อยแล้ว จึงจะสามารถยื่นขอวีซ่าติดตาม คู่สมรส/คู่ชีวิต ที่เรียกว่า Spouse/Civil Partner Visa ได้  โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางออกจากสหราชอาณาจักร หลังจากที่ได้รับวีซ่าประเภทนี้แล้วจึงจะมีสิทธิสามารถทำงานหรือประกอบธุรกิจในสหราชอาณาจักรได้ สำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่เกิดจากคู่สมรสของผู้ยื่นขอวีซ่า เด็กเหล่านี้สามารถติดตามมาด้วยได้ในฐานะผู้ติดตาม แต่เนื่องจากการยื่นขอวีซ่าผู้ติดตามพร้อมกับวีซ่าคู่หมั้นนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีขั้นตอนที่ค่อนข้างลำบาก ด้วยเหตุนี้

วีซ่าคู่หมั้น (FIANCE VISA) Read More »

การศึกษาในสหราชอาณาจักรสำหรับชาวไทย และการขอวีซ่านักศึกษาอังกฤษ

การเข้ารับการศึกษาในอังกฤษนั้นมีข้อดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพการศึกษา ความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหางานของคุณในตลาดแรงงาน ไม่ว่าคุณจะหางานในสหราชอาณาจักร จะเดินทางกลับมาหางานทำที่ไทย หรือจะย้ายไปหางานทำที่ประเทศอื่นก็ตาม สำหรับการสมัครเข้าเป็นนักศึกษานั้นไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของอายุ มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยส่วนใหญ่มีโปรแกรมการศึกษาให้เลือกมากมาย รวมถึงยังมีโปรแกรมการศึกษาที่มีค่าใช้จ่ายในราคาที่ไม่แพงมาก นักศึกษาส่วนใหญ่จะมีสิทธิทำงานในขณะที่เรียนได้สูงสุด 20 ชั่วโมง และทำงานได้เต็มเวลาในช่วงวันหยุด นอกจากนี้แล้วยังมีโปรแกรมการศึกษาหลายโปรแกรมที่อนุญาตให้พาคู่สมรสหรือคู่ชีวิตที่ได้รับใบอนุญาตทำงานรวมถึงเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเข้ามาพำนักอยู่ด้วยได้  นับตั้งแต่วันที่  1 กรกฎาคม 2564 จะมีการประกาศใช้วีซ่ารูปแบบใหม่ที่ให้กับชาวต่างชาติที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในอังกฤษ (New Graduate Route for International Students) และประสงค์จะใช้ชีวิตต่อในสหราชอาณาจักร โดยอนุญาตให้ทำงานได้ถึง 2 ปี หลังจากครบสองปีแล้วก็สามารถเปลี่ยนไปใช้วีซ่าอื่นได้ เราให้ความร่วมมือกับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการเลือกสถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักรทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทจะให้คำปรึกษาและแนะนำคุณถึงวิธีการเลือกโปรแกรมการศึกษาและช่วยเลือกสถาบันการศึกษาและคอร์สการเรียนที่สอดคล้องกับการศึกษาที่คุณได้รับมาก่อนหน้านี้ หรือสอดคล้องกับความสนใจและงบประมาณที่คุณตั้งไว้ นอกจากนี้ยังช่วยดำเนินการด้านเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าเรียนในสถาบันการศึกษา สำหรับนักศึกษาที่มีศักยภาพในการเข้าศึกษาทางบริษัทให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น  สำหรับในการเข้าศึกษาในโปรแกรมการศึกษารวมถึงการขอรับวีซ่านักศึกษานั้น ผู้มีความประสงค์ที่จะเข้าศึกษาจะต้องแสดงหลักฐานระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษในระดับ B1 หรือ B2 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโปรแกรมการศึกษาที่เลือก การได้รับวีซ่านักศึกษาครั้งแรกนั้นมีความยาก แต่ก็มีความเป็นไปได้ หากว่าเตรียมเอกสารอย่างถูกต้องและผ่านการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีในการเข้าสอบสัมภาษณ์  นอกจากนี้ หนึ่งในสิ่งที่คุณจะต้องแสดงสำหรับขอรับวีซ่านักศึกษาก็คือ คุณจะต้องแสดงหลักฐานทางการเงินว่าคุณมีศักยภาพในการชำระคอร์สเรียนที่คุณเลือกไว้ล่วงหน้า 1 ปี รวมถึงมีความสามารถในการชำระค่ากินอยู่และที่พักในสหราชอาณาจักร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการขอรับวีซ่านักศึกษา สามารถดูได้จากทางเวปไซต์

การศึกษาในสหราชอาณาจักรสำหรับชาวไทย และการขอวีซ่านักศึกษาอังกฤษ Read More »

การย้ายอพยพย้ายเข้ามาอาศัยในอังกฤษสำหรับชาวไทยด้วยวีซ่าแรงงานทักษะสูง (Eligible Occupations)

วีซ่าแรงงานทักษะสูง หรือ Skilled worker visa (อย่างที่เป็นที่รู้จักกันในนาม Tier-2 (General) Visa) วีซ่าแรงงานทักษะสูง หรือ Skilled worker visa (อย่างที่เป็นที่รู้จักกันในนาม Tier-2 (General) Visa) วีซ่าประเภทนี้เป็นช่องทางที่เป็นไปได้มากที่สุดในการย้ายถิ่นพำนักเข้ามาอาศัยในสหราชอาณาจักรสำหรับคนไทย โดยเฉพาะคนที่ไม่มีสถานะทางครอบครัวใดๆ กับชาวอังกฤษ (เช่น ไม่ได้แต่งงานกับชาวอังกฤษ เป็นต้น) แต่เป็นวีซ่าที่แสดงให้เห็นความเชี่ยวชาญทางด้านสายอาชีพ ซึ่งวีซ่าประเภทนี้จะทำให้คุณสามารถย้ายเข้ามาทำงานกับผู้ว่าจ้างในอังกฤษที่ได้รับการรับรองจากภาครัฐตามสาขาการทำงานของคุณ เงื่อนไขสำหรับการที่จะได้รับ Skilled Worker Visa ก็คือ ประการแรก คุณจะต้องได้รับการจ้างงานจากผู้ว่าจ้างในอังกฤษที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของอังกฤษ ประการที่สอง จะต้องได้รับเอกสารรับรองการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากผู้ว่าจ้าง หรือที่เรียกว่า Certificate of sponsorship โดยมีข้อมูลที่ระบุถึงหน้าที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในสหราชอาณาจักร ประการที่สาม จะต้องได้รับเงินเดือนขั้นต่ำตามแต่ละสายอาชีพ โดยจะเป็นเท่าไหร่นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบงานที่คุณทำ ประการที่สี่ อาชีพที่ทำจะต้องอยู่ในลิสต์อาชีพที่เป็นที่อนุญาตให้ทำได้ ลิสต์อาชีพที่จะสามารถขอรับวีซ่าประเภทนี้นั้นมีหลากหลายมาก ในปัจจุบันมีทั้งหมด 248 สาขาวิชาชีพ โดยในแต่ละสาขามีตำแหน่งหน้าที่โดยเฉลี่ย 3-10 ตำแหน่ง คุณสามารถเข้าไปตรวจสอบลิสต์ตำแหน่งงานว่าตรงกับสาขาการทำงานของคุณหรือไม่ได้จากทางเวปไซต์ eligible occupations 

การย้ายอพยพย้ายเข้ามาอาศัยในอังกฤษสำหรับชาวไทยด้วยวีซ่าแรงงานทักษะสูง (Eligible Occupations) Read More »

visa-via-richard-bergmann-immigration-services

การย้ายถิ่นฐานเข้ามาพำนักในสหราชอาณาจักรสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ – ขั้นตอนการดำเนินการในแต่ละขั้น

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ในสหราชอาณาจักรขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์  จนเมื่อปี 2563 ที่ผ่านมาในช่วงฤดูร้อนด้วยปัญหาที่ทั่วโลกประสบอยู่ยิ่งทำให้สถานการณ์การขาดแคลนบุคลากรยิ่งเลวร้ายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีการอนุมัติวีซ่าแบบใหม่ซึ่งออกให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงานสาธารณสุขโดยเฉพาะ  วีซ่านี้เรียกว่า วีซ่าสำหรับผู้ทำงานด้านสุขภาพและการดูแลรักษา หรือ (Health and Care Worker Visa) ปัจจุบันสำหรับแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ชาวไทย ที่มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับดีสามารถที่จะเดินทางเข้ามาทำงานและมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับสัญชาติอังกฤษหลังจากที่ทำงานผ่านไปในระยะเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวีซ่านี้จะใช้ระยะเวลาในการพิจารณายาวนานเกือบ 3 สัปดาห์ แต่เชื่อว่าการเตรียมตัวเพื่อจะขอวีซ่านั้นอาจจะใช้เวลามากกว่าเสียด้วยซ้ำ ดังนั้น สำหรับผู้ที่สนใจวีซ่าประเภทนี้ ทางเราแนะนำให้เตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ข้อจำกัดที่หลายประเทศทั่วโลกบังคับใช้และเป็นอุปสรรคในการเดินทางไปมาระหว่างประเทศสิ้นสุดลง ในบทความนี้เราจะขออธิบายคร่าวๆ ถึงขั้นตอนต่างๆ ว่าแต่ละขั้นมีการดำเนินการอย่างไรบ้าง เริ่มจากขั้นตอนแรก ผู้ที่มีคุณสมบัติในการสมัครจะต้องตรวจสอบจนมั่นใจก่อนว่าอาชีพของตนนั้นอยู่ในลิสต์อาชีพที่สามารถมีสิทธิขอวีซ่าประเภทนี้ได้  โดยสามารถเข้าไปตรวจสอบได้จากลิงค์นี้ ผู้ที่มีคุณสมบบัติในการสมัคร จะต้องสามารถอ่าน เขียน พูด และเข้าใจภาษาอังกฤษได้โดยมีระดับความรู้ภาษาอังกฤษอย่างน้อยตั้งแต่ระดับ B1 ขึ้นไปตามมาตรฐานสากลที่ใช้อธิบายระดับความเชี่ยวชาญทางภาษา CEFR (the Common European Framework of Reference for Languages) โดยข้อมูลเกี่ยวกับการยืนยันถึงการมีพื้นฐานภาษาอังกฤษในระดับดังกล่าว สามารถศึกษาข้อมูลได้จากลิงค์นี้ https://www.gov.uk/health-care-worker-visa/knowledge-of-english หลังจากนั้นจึงจะสามารถเข้าสู่ขั้นตอนของการหางาน โดยขั้นตอนนี้คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางออกจากประเทศไทยแต่ประการใด คุณสามารถเขียนจดหมายไปหาผู้จ้างงานโดยตรงได้เลย 

การย้ายถิ่นฐานเข้ามาพำนักในสหราชอาณาจักรสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ – ขั้นตอนการดำเนินการในแต่ละขั้น Read More »